วันที่ 2 สิงหาคม 2561 เวลา 10.00 น. ณ ห้องประชุมเอราวัณ ชั้น 9 อาคาร 100ปี การสาธารณสุขไทย โรงพยาบาลสุรินทร์, นพ.ประวีณ ตัณฑประภา ผู้อำนวยการโรงพยาบาลสุรินทร์ เป็นประธานเปิดโครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพผู้ป่วยโรคเรื้อรัง โดยมีนางอัสนี นาคาวงค์ หัวหน้ากลุ่มงานสุขศึกษา กล่าวรายงาน, กลุ่มเป้าหมาย ประกอบไปด้วย เจ้าหน้าที่โรงพยาบาลสุรินทร์ อาสาสมัครสาธารณสุข (อสม.) แกนนำภาคประชาชน และกลุ่มเยาวชนที่มีส่วนร่วมในภารกิจของสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.น้อย) เพื่อคุ้มครองผู้บริโภค ในโรงเรียนเมืองสุรินทร์ รวมทั้งสิ้นจำนวน 100 คน, สำหรับกิจกรรม ประกอบไปด้วย การบรรยายให้ความรู้-การจัดบูธนิทรรศการ โดยสหสาขาวิชาชีพ ได้แก่ กลุ่มงานโภชนศาสตร์ กลุ่มงานทันตกรรม กลุ่มงานเภสัชกรรม กลุ่มงานการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก ศูนย์โรคไต ศูนย์หัวใจ ศูนย์มะเร็ง คลินิกพิเศษ และคลินิกฟ้าใส กลุ่มงานสุขศึกษา
โรคเรื้อรัง นับเป็นปัญหาการเจ็บป่วยที่สำคัญและนำมาซึ่งความสูญเสียทรัพยากรในการดูแลรักษา มีผลกระทบต่อผู้ป่วยเอง ผู้ดูแล ค่ารักษาพยาบาล ค่าใช้จ่ายในครอบครัว มีอาการป่วยเรื้อรังเป็นเวลานาน ไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้นอกจากจะเป็นโรคที่รักษาไม่หายแล้ว ยังเชื่อมโยงไปสู่ โรคแทรกซ้อนอื่น ๆ อีกมากมาย เช่น โรคหัวใจและหลอดเลือดรวมถึงโรคไตเรื้อรัง สำหรับสาเหตุหลักที่ทำให้เกิดโรค คือ “กรรมพันธุ์” และ “สิ่งแวดล้อม” ขณะที่สิ่งแวดล้อมเป็นปัจจัยเสี่ยงที่เริ่มต้นตั้งแต่ในครรภ์แม่ แม้กรรมพันธุ์จะเป็นสิ่งที่แก้ไขไม่ได้ แต่ก็สามารถควบคุมปัจจัยเรื่องอาหารและสิ่งแวดล้อมเพื่อป้องกันโรคเรื้อรังได้ จากผลการวิจัยหลายชิ้นชี้ให้เห็นว่า การควบคุมอาหารอย่างดี รวมไปถึงการออกกำลังกายเป็นประจำนั้นส่งผลโดยตรงต่อการป้องกันโรคเรื้อรัง โดยเฉพาะคนที่มีความเสี่ยงสูงทางกรรมพันธุ์ อีกทั้งยังเป็นการควบคุมโรคเรื้อรัง รวมไปถึงป้องกันโรคแทรกซ้อนต่าง ๆ ได้ การรักษาโรคเรื้อรังโดยการให้ความสำคัญเฉพาะด้านการแพทย์อาจไม่เพียงพอ เพื่อการควบคุมโรคที่สมบูรณ์ ผู้ป่วยต้องได้รับความรู้เรื่องโรครวมไปถึงความรู้เรื่องโภชนาการและการออกกำลังกายที่ถูกต้อง พร้อมทั้งได้รับการกระตุ้นการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมผ่านกิจกรรมต่างๆ เช่น ค่ายเบาหวาน ความดัน โรคเรื้อรังหรือกิจกรรมชมรมอย่างสม่ำเสมอซึ่งถ้าปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัดตั้งแต่ระยะเริ่มต้น ก็จะสามารถใช้ชีวิตอย่างมีความสุขโดยปราศจากโรคแทรกซ้อนได้
ด้วยกลุ่มงานสุขศึกษา โรงพยาบาลสุรินทร์ ซึ่งเป็นหน่วยงานที่สนับสนุนและส่งเสริมให้เกิดการเรียนรู้ด้านสุขภาพ การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพของบุคคล ครอบครัวและชุมชนที่ถูกต้อง จึงได้จัดโครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพผู้ป่วยโรคเรื้อรังนี้ขึ้น
นพ.ประวีณ ตัณฑประภา ผู้อำนวยการโรงพยาบาลสุรินทร์ กล่าวว่า สาเหตุหลักที่ทำให้เกิดโรคเรื้อรัง คือ “กรรมพันธุ์” และ “สิ่งแวดล้อม” ในส่วนของกรรมพันธุ์นั้นเป็นปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญขึ้นเรื่อยๆ เมื่อมีอายุมากขึ้น
นโยบายของกระทรวงสาธารณสุข ได้ไห้ความสำคัญกับกระบวนการมีส่วนร่วมของทุกคนภาคส่วนในสังคมในการพัฒนาประเทศด้านต่างๆ โดยเฉพาะด้านการเสริมสร้างสุขภาวะให้คนไทยมีสุขภาพแข็งแรงทั้งกายและใจ สามารถดูแลตนเองได้ กระทรวงสาธารณสุขได้กำหนดเกณฑ์ชี้วัดความสำเร็จของการสร้างสุขภาวะให้คนไทยแข็งแรง ส่วนหนึ่งนั้น โดยได้กำหนดตัวชี้วัดของโรคไม่ติดต่อ ได้แก่ โรคความดันโลหิตสูง โรคอัมพฤกษ์ อัมพาต โรคเบาหวาน โรคหลอดเลือดหัวใจ โดยกำหนดให้มีการลดละกิจกรรมเสี่ยงอันได้แก่ละเลิกการสูบบุหรี่ ดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ ลดอาหารที่มีรสหวาน มัน เค็ม และปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการรับประทานผักผลไม้เพิ่มขึ้น มีการออกกำลังกายเป็นประจำ ลดภาวะน้ำหนักเกิน โดยดำเนินงานไห้ประสบความสำเร็จอย่างมีประสิทธิภาพและยั่งยืน ผมอยากให้ทุกท่านตระหนักถึงความสำคัญของการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเกี่ยวกับการดูแลตนเองเพื่อลดภาวะแทรกซ้อนของโรคเรื้อรัง
————————————————————————————–
พัณณ์ชิตา ตั้งจิตเพียรโชค, ปิยะกร สุขเลิศ : ข่าว
กลุ่มงานสุขศึกษา รพ.สุรินทร์ : ภาพ